Translate

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประสาทสัมผัสฝึกได้ในทุกๆวันของชีวิต

อ้างอิงจาก : Guru.ThaiBizCenter.com

ประสาทสัมผัสกับการเรียนรู้

     ระบบประสาทสัมผัส เริ่มทำงานตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์แล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์นัก และต้องการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ

ฝึกประสาทสัมผัสเจ้าตัวน้อย

     การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องเข้าใจพัฒนาการแต่ละช่วงวัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมที่สุด

แรกเกิด - 3 เดือน ให้นมลูก

     ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสให้ลูกอย่างครบถ้วน ทั้งการได้รับไออุ่น การกอดสัมผัส ได้กลิ่นกายและได้ยินเสียงหัวใจ คุ้นชินรสชาติพร้อมทั้งมองหน้าแม่ที่ยิ้มอยู่ตรงหน้า

3 - 6 เดือน คว้า จับ กับของเล่น

     เริ่มจับ คว้า เปล่งเสียง สบตา เล่น การให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกทุกวัน นวดตัวลูกหลังอาบน้ำ จะช่วยกระตุ้นประสาทให้ลูก และอาจเพิ่มด้วยของเล่นต่างๆ เช่น โมบายสีสดใส กล่องดนตรี ของเล่นที่มีผิวสัมผัส

6 เดือน - 1 ปี ลิ้มรสกระตุ้นสัมผัส

     เริ่มนั่ง คลาน เกาะ ยืน จับจ้องมองริมฝีปากผู้คนขณะพูด เชื่อมโยงระดับเสียงสูงต่ำ ลิ้มรสชาติอาหารอ่อนๆได้ รวมทั้งกลิ่นและผิวสัมผัส การพาลูกนั่งรถเข็นชมต้นไม้ ฟังเสียงนกร้อง หรือหาหนังสือนิทานนุ่มนิ่มให้ลูกสัมผัส ดูภาพ ฟังเสียง จะช่วยส่งเสริมประสาทสัมผัสต่างๆให้ดียิ่งขึ้น

1 - 2 ปี กระตุ้นผ่านชีวิตประจำวัน
     เริ่มเตาะแตะ เรียนรู้ภาษา การกระตุ้นประสาทสัมผัสในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญ ควรหากิจกรรมต่างๆทำกับลูก เช่น


  • กระตุ้นการฟังด้วยเสียง,นิทาน 
  • กระตุ้นการได้กลิ่นด้วยการสอนแยกแยะกลิ่นหอม-เหม็น
  • กระตุ้นการรับรู้ร้อน-เย็น อ่อน-แข็ง ด้วยของเล่น
  • กระตุ้นการรับรสชาติด้วย ผลไม้รสเปรี้ยว หวาน เค็ม 
2 - 3 ปี หลากหลายของเล่นพัฒนาประสาทสัมผัส
     วัยนี้สามารถแยกของเล่นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ว่าเหมือนหรือแตกต่าง สิ่งไหนเรียกอย่างไร เล่นอย่างไร จับอย่างไร รวมทั้งขนาด สี รูปทรง สามารถส่งเสริมทักษะต่างๆได้ เช่น 
  • ฝึกแยกแยะรูปทรง สี ด้วยของเล่นทรงต่างๆ 
  • ฝึกรับรู้รสชาติ กลิ่น ผิวสัมผัส ด้วยการเล่นเกมดมกลิ่นผลไม้ เป็นต้น
     หากคุณเข้าใจหลักการฝึกประสาทสัมผัสและสอดประสานกิจกรรมเข้าไปในวิถีชีวิตอย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของลูก จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี และช่วยหล่อหลอมเป็นบุคลิกภาพ ความคิด และตัวตนของลูกเมื่อเติบโตขึ้นด้วย

บทความอื่นๆที่น่าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น