Translate
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
8 เทคนิคแก้นิสัยเด็กติดเกมส์คอมพิวเตอร์
อ้างอิงจาก : wikiHow. 2009. How to Avoid Getting Addicted to Computer Games. [online]. Available : http://www.wikihow.com/Avoid-Gettind-Addicted-to-Computer-Games.
Brainy - Chid. 2009. How to prevent harmful impact of computer on your children. [online]. Available : http://www.brainy-child.com/article/computer.html.
http://care4frinds.wordpress.com
1. จำกัดการเล่นลง เช่น ค่อยๆลดการเล่นลงด้วยการจำกัดชั่วโมง เช่น เล่นเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อเด็กทำหน้าที่ตนเองเสร็จ เช่น การบ้าน,กินข้าว เป็นต้น ให้เด็กเล่นได้ 30 นาทีต่อวันเพื่อฝึกทักษะการมองเห็น การตอบสนอง
2. เลือกเกมส์ให้เหมาะสม เกมส์ไม่ซับซ้อน เล่นจบง่าย เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาที่จำกัด
3. ผู้ปกครองมีส่วนร่มในการเฝ้ามองและควบคุม วางเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในที่ที่ผู้ปกครองเห็นง่าย เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก และเมื่อถึงกำหนดเวลาเลิกเล่นแล้วเด็กไม่ทำตามข้อตกลงให้ผู้ปกครองดึงอุปกรณ์ควบคุมเกมออกมาได้เลย ด้วยวิธีที่เด็ดขาดและมีวินัยจะช่วยแก้ปัญหาการติดเกมส์ได้เป็นอย่างดี
4. ผู้ปกครองต้องอย่าเพิกเฉยต่อคำแนะนำและคำเตือนที่มาพร้อมเกมส์ ดูได้จากแผ่นปกเกมส์ ควรดูอายุผู้เล่นขั้นต่ำ หรือคำแนะนำ ควรทราบว่าเกมส์สื่อไปในทางที่ดีก่อนให้เด็กเห็น และมีการโต้ตอบที่เหมาะสม เช่น การใช้เมาส์เลือกการเคลื่อนไหว เป็นต้น
5. หาอะไรสนุกๆให้เด็กทำแทย เพื่อชดเชยความสนุกที่ได้จากเกมส์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุด
6. ผู้ปกครองหากิจกรรมเสริมร่วมไปกับการควบคุมเวลาในการเล่นเกมส์ อาจเล่นซ่อนหา โดยซ่อนแผ่นเกมส์ หรือซ่อนไอคอนของเกมส์ วิธีนี้อาจใช้ได้ผลไม่กี่ครั้ง
7. ให้กำลังใจและเข้าใจเด็กให้มากที่สุด ความเด็ดขาดนั้นจำเป็นในบางครั้ง แต่ที่สำคัญความเข้าใจและเหตุผลจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
8. ผู้ปกครองต้องมีเวลาอยู่กับเด็ก เด็กที่ติดเกมส์มักมีสาเหตุจากที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ มั่นหากิจกรรมทำร่วมกับลูก ออกไปทานข้าว ไปสวนสนุก หาชมรมกีฬาหรือดนตรีที่ลูกชอบหรือถนัด
www.kid-dtoys.com
30 วิธีแสนง่ายในการเลี้ยงลูกให้ฉลาด
อ้างอิงจาก : นิตยสาร at office issue : women.kapook.com
1. ตามองตา เมื่อลูกลืมตาตื่นให้พ่อแม่สบสายตากับลูกสักครู่ ให้ลูกได้จดจำใบหน้าพ่อแม่ไว้
2. พูดต่อสิลูก ให้เว้นช่วงคำท้ายพยางค์หรือคำพูดสุดท้ายของประโยคให้ลูกพูด
3. ฉลาดเพราะนมแม่ ให้ลูกดื่มนมแม่ให้นานที่สุด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างสายสัมพันธ์ให้กับลูกน้อย
4. ทำตลกใส่ลูก ลูกสามารถเลียนแบบท่าทางอย่างง่ายๆได้
5. กระจกเงาวิเศษ เด็กเกือบทุกคนชอบส่องกระจก สนุกกับการโบกมือ ยิ้มแย้มกับเงาตัวเองในกระจก
6. จัํกจี้ จัํกจี้ การหัวเราะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านอารมณ์ขัน การเล่นปูไต่ทำให้เรียนรู้การคาดเดาเหตุการณ์ว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ปูไต่ไปไหน เกิดอะไรต่อ
7. สองภาพที่แตกต่าง ถือรูปภาพ 2 รูปที่คล้ายกัน ห่างจากลูก 8 - 12 นิ้ว ภายมีความคล้ายกันเช่น บ้านที่เหมือนกันสองรูป แต่อีกรูปมีต้นไม้ใหญ่อยู่ด้วย ลูกจะสังเกตุเห็นความแตกต่าง เป็นการฝึกความจำแก่ลูก
8. ชมวิวด้วยกัน ออกไปเดินเล่นนอกบ้านกับลูก บรรยายสิ่งรอบตัวให้ลูกฟังว่าตรงนี้ไม่อะไรบ้าง จะเป็นการฝึกคำศัพท์ให้ลูก
9. เสียงประหลาด ทำเสียงสูงต่ำเลียนแบบเสียงเด็ก ลูกจะพยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงนั้น
10. ร้องเพลงแสนหรรษา สร้างเสียงและจังหวะส่วนตัวระหว่างพ่อแม่กับลูก เช่น เวลาอาบน้ำให้ลูกอาจร้องเพลงหรือกลอนสั้นๆเกี่ยวกับการอาบน้ำ มีนักวิจัยค้นพบว่า จังหวะดนตรีเกี่ยวพันกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูก
11. มีค่ามากกว่าอาบน้ำ สอนให้ลูกรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย อุปกรณ์ในการอาบน้ำ หรือบอกลูกว่าจะทำอะไรต่อไป เป็นการสอนคำศัพท์ เรียนรู้ร่างกาย และเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวัน
12. อุทิศตัวเป็นของเล่น พ่อแม่นอนราบกับพื้นให้ลูกคลานข้ามตัว ลูกจะได้พัฒนากล้ามเนื้อและรู้จักแก้ปัญหา
13. พาลูกไปช็อปปิ้ง ลูกจะได้รับความบันเทิงจากการเปลี่ยนบรรยากาศ เห็นผู้คนและแสงสีเสียงที่หลากหลาย
14. ให้ลูกมีส่วนร่วม ให้ลูกมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวัน ทำให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุและผล เรียนรู้การทำสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน
15. เสียงและสัมผัสจากลมหายใจ ทำให้ลูกกระปรี้กระเปร่า เป่าลมเบาๆไปตามหน้า มือ ท้องของลูก
16. ทิชชู่หรรษา ไม่ควรห้ามลูกดึงกระดาษทิชชู่ออกจากม้วน อาจให้ม้วนที่ใช้ไปแล้วก็ได้ การเล่นนี้เป็นการฝึกทักษะประสาทสัมผัสและการใช้มือ
17. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นการฝึกให้ลูกเรียนรู้เรื่องภาษา คำศัพท์ การเรียงประโยค
18. เล่นซ่อนหาจ๊ะเอ๋ ทำให้ลูกเรียนรู้ว่าเมื่อของหายสามารถกลับคืนมาได้
19. สัมผัสที่แตกต่าง นำของที่สัมผัสต่างกันไปสัมผัส แก้ม มือ เท้า ท้องลูกเบาๆและบรรยายความรู้สึกให้ลูกฟังเช่น นุ่มใช่ไหม จั๊กจี้ เป็นต้น
20. ให้ลูกผ่อนคลายและอยู่กับตัวเอง ใช้เวลา 5 - 10 นาทีนั่งอยู่เงียบๆกับลูกไม่ต้องเปิดเพลงหรือเล่นอะไร ให้ลูกได้ทำตามใจชอบ ได้เล่นกับตัวเอง สำรวจสิ่งต่างๆ รอดูว่าใช้เวลาเท่าไหร่ลูกจึงกลับมาเล่นกับพ่อแม่ เป็นการฝึกความเป็นตัวของตัวเองให้ลูก
21. มื้ออาหารแสนสนุก เมื่อลูกทานอาหารได้หลายหลายขึ้น ลองจัดอาหารที่ขนาดและพื้นผิวหลากหลาย เช่น ผลไม้ชิ้นเล็ก เส้นพาสต้า มะกะโรนี หากลูกอยากสัมผัสปล่อยให้ลูกสัมผัสอาหารเพราะนี่เป็นการฝึกการใช้นิ้วและประสาทสัมผัสของมือ
22. เด็กชอบทิ้งของ เด็กได้เรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วง
23. กล่องมายากล หากล่องที่เหมือนกันมา 3 อัน ซ่อนของเล่นลูกในกล่องใบนึง สลับกล่องจนลูกจำไม่ได้แล้วให้ลูกค้นหาของให้เจอ เป็นการฝึกสมองอย่างง่าย
24. สร้างอุปสรรค์เล็กๆน้อยๆ นำเบาะ หมอน กล่อง มาวางขวางทางแล้วพ่อแม่ก็สาธิตให้ลูกดูว่าคลานข้าม ลอด สิ่งกีดขวางนี้อย่างไร เป็นการฝึกกล้ามเนื้อและวิธีแก้ปัญหาให้แก่เด็ก
25. เลียนแบบลูกบ้าง ลูกชอบให้พ่อแม่ทำตามเขาบ้าง เช่น เลียนแบบการหาว การส่งเสียง เป็นการกระตุ้นให้ลูกแสดงท่าต่างๆออกมา เป็นการฝึกให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์
26. จับใบหน้าที่แปลกไป ทำหน้าตาแปลกๆให้ลูกดู เช่น ขมวดคิ้ว ยิ้ม ลูกจะอย่างลองจับหน้าพ่อแม่ ให้ลูกจับและสร้างเงื่อนไขให้ลูกเช่นจับตรงนี้จะทำเสียงนี้ และเปลี่ยนเงื่อนไขบ้างให้ลูกแปลกใจ
27. ทำอัลบั้มรูปครอบครัว นำภาพญาติมาใส่อัลบั้ม ชี้ให้ลูกดูบ่อยๆ เมื่อปู่ย่าตายายโทรมาก็ให้ลูกฟังเสียงแล้วชี้ภายให้ดู เป็นการฝึกความจำลูก
28. วางแผนคลานตามกัน คลานเล่นกับลูกช้าบ้าง เร็วบ้าง หยุดบ้าง หรือวางของตามมุมต่างๆแล้วคลานสำรวจจุดต่างๆกับลูกตามแผน
29. เส้นทางแห่งความรู้สึก อุ้มลูกเดินทั่วบ้านตอนฝนตก จับมือลูกสัมผัสหน้าต่างที่เย็น สัมฟัสหยดน้ำที่เกาะบนใบไม้ เป็นการฝึกประสาทสัมผัสลูกสู่ความรู้สึกต่างๆว่ารู้สึกยังไงเมื่อแตะของเย็น เปียก ลื่น
30. เล่าเรื่องของลูก เลือกนิทานเรื่องโปรดของลูก ใส่ชื่อลูกแทนตัวละครตัวสำคัญของเรื่องให้ลูกแปลกใจสนุกสนาน
www.kid-dtoys.com
การเลือกของเล่นเด็ก เสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
อ้างอิงจาก : พัฒนาการเด็ก : บทความ รศ.ดร. จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : www.eschool.su.ac.th
ช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 ปีนั้นเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ การเล่นและของเล่นนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและประสบการของเด็ก ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจ ดูแลการเล่นและเลือกของเล่นให้เด็กอย่างเหมาะสม
การเล่นของเด็กปฐมวัยนั้นจะใช้อวัยวะต่างๆสำรวจของเล่นและรับรู้สิ่งต่างๆผ่านการสัมผัส จดจำและทำความเข้าใจ การเลือกของเล่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองควรคำนึงถึงและใส่ใจ ของเล่นที่ดีจะช่วยพัฒนาทักษะต่างๆของเด็กผ่านการเล่น ทำให้เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อ ทักษะ จินตนาการ และที่สำคัญไม่แพ้กันคือความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง ผู้ปกครองควรดูแล ชี้แนะ และเล่นกับเด็กด้วย
เด็กวัย 0 - 1 ปียังไม่สนใจเล่นนัก แต่เริ่มมีการพัฒนาด้านประสาทสัมผัส การมองเห็น และได้ยิน การแขวนของเล่นสดใส มีเสียงจะทำให้เด็กฝึกสายตา
เด็กวัย 1 - 2 ปี เริ่มเดินได้บ้างแต่ยังต้องเกาะ ควรเลือกเครื่องเล่นที่ลากจูงไปมาได้ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อแขน ขา
เด็กวัย 2 - 4 ปี เคลื่อนไหวคล่องขึ้น ชอบการเล่นที่ออกแรง วิ่ง กระโดด และควรฝึกการจินตนาการของเด็ก เช่น แสดงบทบาทสมมุติ
เด็กวัย 4 - 6 ปี ชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนามและเครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ เล่นเป็นกลุ่มมากขึ้น
การเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
1. ปลอดภัย ไม่แหลมคม ไม่แตกหักง่าย ไม่ทำจากวัสดุมีพิษ
2. มีประโยชน์ในการเล่น กระตุ้นจินตนาการ การใช้ความคิดและช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ
3. เหมาะกับอายุและความสามารถเด็ก
4. ไม่จำเป็นต้องแพง ควรคำนึงถึงพัฒนาการเด็กเป็นหลัก
www.kid-dtoys.com
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
พัฒนาการของเด็กวัย 1 - 3 ปี
อ้างอิงจาก : Momypedia : นิตยสารรักลูก : นิตยสาร ModernMom : นิตยสาร Kids & school : คู่มือพัฒนาการเด็ก : คู่มือพัฒนาสมองลูกด้วยสองมือแม่ : หนังสือคู่มือเลี้ยงลูก โดย ศ. เกียรติคุณ พญ. ชนิกา ตู้จินดา สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊ค
ของเล่นสำหรับเด็กวัย 1 - 3 ปี
หนังสือนิทาน - เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตและยังถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับลูก หนังสือนิทานนอกจากจะทำให้ลูกได้รับความบันเทิงแล้วยังเป็นการปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสังเกตุและทักษะการอ่านให้แก่ลูกได้อีกด้วย โดยการตั้งคำถามปลายเปิดแก่เด็กว่าถ้าเป็นตัวการ์ตูนตัวนี้เขาจะทำอย่างไร หรือการฝึกการสังเกตุสิ่งต่างๆในนิทานเช่น ตัวนี้ใส่เสื้อสีอะไร เป็นต้น และควรมีหนังสือนิทานให้ลูกได้เลือกฟังหรือเลือกอ่านเองได้
จิ๊กซอว์ บล๊อกไม้ - เป็นอีกของเล่นหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของลูก การเลือกจิ๊กซอว์ควรระมัดระวังเรื่องความแหลมคมของจิ๊กซอว์ด้วย
ระบายสี - การระบายสีจะเป็นการปลดปล่อยจิตนาการของลูก และเป็นวิธีการเล่นที่ง่าย อุปกรณ์สามารถหาได้ภายในบ้านท่าน การให้ลูกระบายสีกับกรอบการ์ตูนนั้นจะเป็นการปิดกั้นจินตนาการของลูก
ทรายและน้ำ - ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก โดยควรเตรียมบ่อทราย บล็อกพิมพ์(ที่ใช้กับของเล่นตามชายหาด) และน้ำ
เล่นบทบาทสมมุติ - ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็กด้วยการชวนลูกมาเล่นละครสั้นๆและให้ลูกเล่นบทบาทสมมุติเป็นตัวละครที่ลูกอยากเล่น
Painting Shadow - ออกไปข้างนอกตอนสายๆบ่ายๆ เอากระดาษวางบนพื้นแล้ววาดรูปเงาตัวเองที่พาดลงกระดาษ หรือทำมือเป็นเงารูปสัตว์ต่างๆแล้ววาดลงบนกระดาษ จะเป็นการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงจากธรรมชาติและความคิดสร้างสรรค์เข้าด้วยกัน
ลูกโป่งว่าว - ติดกระดาษรูปสัตว์ต่างๆลงบนลูกโป่งที่เป่าลมและผูกเชือกกับลูกโป่งแล้วนำมาผูกกับข้อมือลูก ให้ลูกได้วิ่งเล่นข้างนอกพร้อมกับลูกโป่งลายสัตว์ต่างๆ เสมือนสัตว์ตัวนั้นบินอยู่บนก้อนเมฆ
แป้งโดว์ - เสริมสร้างจิตนาการด้วยการให้ลูกปั้นแป้งโดว์ตามใจชอบ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกอีกด้วย
www.kid-dtoys.com
วิธีส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ลูกให้แข็งแรง
อ้างอิงจาก : นิตยสาร รักลูก : Momypedia
กิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กวัย 0 - 6 ปีคือ
- เล่นเก้าอี้โยก ม้าโยก เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัว
- ปั่นจักรยานสามล้อ เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัว
- เดินขึ้นลงบันไดด้วยตนเอง แต่ต้องมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัวและกล้ามเนื้อขา
- โยน รับ ลูกบอล เป็นการส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อแขนและมือ
- วิ่งเล่น เป็นการส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อแขน ขา
- ให้ลูกเดินบนไม้กระดานยาวๆที่นำมาทำเป็นสะพาน เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัวในที่แคบ กล้ามเนื้อขา
การให้ลูกทำกิจกรรมที่หลากหลายจะช่วยให้ลูกได้ฝึกพัฒนาทักษะที่หลายหลาย ที่สำคัญควรมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด
www.kid-dtoys.com
กิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กวัย 0 - 6 ปีคือ
- เล่นเก้าอี้โยก ม้าโยก เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัว
- ปั่นจักรยานสามล้อ เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัว
- เดินขึ้นลงบันไดด้วยตนเอง แต่ต้องมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัวและกล้ามเนื้อขา
- โยน รับ ลูกบอล เป็นการส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อแขนและมือ
- วิ่งเล่น เป็นการส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อแขน ขา
- ให้ลูกเดินบนไม้กระดานยาวๆที่นำมาทำเป็นสะพาน เป็นการส่งเสริมทักษะการทรงตัวในที่แคบ กล้ามเนื้อขา
การให้ลูกทำกิจกรรมที่หลากหลายจะช่วยให้ลูกได้ฝึกพัฒนาทักษะที่หลายหลาย ที่สำคัญควรมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด
www.kid-dtoys.com
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
พัฒนาการของเด็กวัย 3-5 ปี
อ้างอิงจาก : บทความของรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
มหาวิทยาลัยมหิดล
พัฒนาการของกระดูกและกล้ามเนื้อในเด็กวัย 3-5 ปี
กระดูกและกล้ามเนื้อมีการพัฒนามากขึ้น มีความแข็งแรงมากขึ้นทำให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่การพัฒนานี้ก็ยังไม่เต็มที่ควรมีการเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน
พัฒนาการทางร่างกายของเด็กอายุ 3 - 5 ปี
มีพัฒนาการด้านร่างกายรวดเร็วโดยร่างกายจะเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น จึงทำให้เด็กชอบวิ่ง กระโดด เด็กวัยนี้สามารถหยิบจับ ควบคุมการทรงตัวได้ดีและช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันและช่วยทำงานเล็กๆน้อยๆได้
การพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวและการประสานงานยังไม่ดีนัก จึงประสบอุบัติเหตุได้ง่าย
การพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กวัย 3 ปี
การเจริญเติบโตช้ากว่าวัย 2 ปี สามารถกระโดดได้แต่ไม่สูงนัก สามารถยืนและเดินด้วยปลายเท้า เด็กวัยนี้ต้องการอาหารประมาณ 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน
การพัฒนาทางด้านความสัมพันธ์ของระบบกล้ามเนื้อและประสาทของเด็กวัย 3 ปี
สามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวร่างกาย มีความสัมพันธ์กันของการใช้แขนขาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถทรงตัวได้ดีขึ้น
การพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กวัย 4 ปี
การเจริญเติบโตของร่างกายไม่แสดงอย่างโดดเด่นและชัดเจนเท่ากับวัย 3 ปี ควรได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ โดยเฉลี่ยเด็กวัยนี้ต้องการอาหารประมาณ 1,700 กิโลแคลอรีต่อวัน
การพัฒนาทางด้านความสัมพันธ์ของระบบกล้ามเนื้อและประสาทของเด็กวัย 4 ปี
- สามารถเดินบนเส้นตรงได้
- กระโดดขาเดียวได้ และกระโดดข้ามวัตถุสูง 12 - 15 เซนติเมตร โดยลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างได้
- วิ่งซิกแซก หยุด และกลับตัวและวิ่งรอบวงกลมได้
- ขว้างลูกบอลเหนือศีรษะได้ในระยะที่ต้องการและไกล
- ปีนบันได ต้นไม้ และเครื่องเล่นในสนาม
- ควบคุมพวงมาลัยจักรยานให้เลี้ยวโค้ง และหลบหลีกได้
การพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กวัย 5 ปี
การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างชัดเจน มีรูปร่าง เริ่มสมส่วน ศีรษะโตเกือบเท่าวัยที่จะเป็นผู้ใหญ่ และมีการพัฒนาทางด้านสายตา เช่น มองได้กว้างกว่าวัย 3-4 ปี โดยเฉลี่ยเด็กวัยนี้ต้องการอาหารประมาณ 1,800 กิโลแคลอรี ต่อวัน
การพัฒนาทางด้านความสัมพันธ์ของระบบกล้ามเนื้อและประสาทของเด็กวัย 5 ปี
- เดินถอยหลังด้วยการใช้ปลายเท้าไปสู่ส้นเท้า
- แตะปลายเท้าโดยเข่าไม่งอ
- เดินบนคานสมดุลได้
- เรียนรู้การกระโดดยกขาเดียว สลับกับอีกขาหนึ่งไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
- กระโดดขึ้นหรือไปด้านหน้า 10 ครั้งในแถวได้โดยไม่ล้ม
- ทรงตัวด้วยการยืนขาเดียวได้นาน 10 วินาที
www.kid-dtoys.com
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
มหาวิทยาลัยมหิดล
พัฒนาการของกระดูกและกล้ามเนื้อในเด็กวัย 3-5 ปี
กระดูกและกล้ามเนื้อมีการพัฒนามากขึ้น มีความแข็งแรงมากขึ้นทำให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แต่การพัฒนานี้ก็ยังไม่เต็มที่ควรมีการเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน
พัฒนาการทางร่างกายของเด็กอายุ 3 - 5 ปี
มีพัฒนาการด้านร่างกายรวดเร็วโดยร่างกายจะเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น จึงทำให้เด็กชอบวิ่ง กระโดด เด็กวัยนี้สามารถหยิบจับ ควบคุมการทรงตัวได้ดีและช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันและช่วยทำงานเล็กๆน้อยๆได้
การพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวและการประสานงานยังไม่ดีนัก จึงประสบอุบัติเหตุได้ง่าย
การพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กวัย 3 ปี
การเจริญเติบโตช้ากว่าวัย 2 ปี สามารถกระโดดได้แต่ไม่สูงนัก สามารถยืนและเดินด้วยปลายเท้า เด็กวัยนี้ต้องการอาหารประมาณ 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน
การพัฒนาทางด้านความสัมพันธ์ของระบบกล้ามเนื้อและประสาทของเด็กวัย 3 ปี
สามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวร่างกาย มีความสัมพันธ์กันของการใช้แขนขาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถทรงตัวได้ดีขึ้น
การพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กวัย 4 ปี
การเจริญเติบโตของร่างกายไม่แสดงอย่างโดดเด่นและชัดเจนเท่ากับวัย 3 ปี ควรได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ โดยเฉลี่ยเด็กวัยนี้ต้องการอาหารประมาณ 1,700 กิโลแคลอรีต่อวัน
การพัฒนาทางด้านความสัมพันธ์ของระบบกล้ามเนื้อและประสาทของเด็กวัย 4 ปี
- สามารถเดินบนเส้นตรงได้
- กระโดดขาเดียวได้ และกระโดดข้ามวัตถุสูง 12 - 15 เซนติเมตร โดยลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างได้
- วิ่งซิกแซก หยุด และกลับตัวและวิ่งรอบวงกลมได้
- ขว้างลูกบอลเหนือศีรษะได้ในระยะที่ต้องการและไกล
- ปีนบันได ต้นไม้ และเครื่องเล่นในสนาม
- ควบคุมพวงมาลัยจักรยานให้เลี้ยวโค้ง และหลบหลีกได้
การพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กวัย 5 ปี
การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างชัดเจน มีรูปร่าง เริ่มสมส่วน ศีรษะโตเกือบเท่าวัยที่จะเป็นผู้ใหญ่ และมีการพัฒนาทางด้านสายตา เช่น มองได้กว้างกว่าวัย 3-4 ปี โดยเฉลี่ยเด็กวัยนี้ต้องการอาหารประมาณ 1,800 กิโลแคลอรี ต่อวัน
การพัฒนาทางด้านความสัมพันธ์ของระบบกล้ามเนื้อและประสาทของเด็กวัย 5 ปี
- เดินถอยหลังด้วยการใช้ปลายเท้าไปสู่ส้นเท้า
- แตะปลายเท้าโดยเข่าไม่งอ
- เดินบนคานสมดุลได้
- เรียนรู้การกระโดดยกขาเดียว สลับกับอีกขาหนึ่งไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
- กระโดดขึ้นหรือไปด้านหน้า 10 ครั้งในแถวได้โดยไม่ล้ม
- ทรงตัวด้วยการยืนขาเดียวได้นาน 10 วินาที
www.kid-dtoys.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)